สำหรับทางพิเศษ มีผู้ใช้งานอยู่ในระบบประมาณ 1.2 ล้านเที่ยวต่อวัน และ สำหรับรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงค (สายสีน้ำเงิน) มีจำนวนผู้โดยสารประมาณ 300,000 เที่ยวต่อวัน

รายได้ของบริษัทออกได้เป็น 3 ส่วนหลักๆ โดย 65% เป็นรายได้จากธุรกิจทางพิเศษ, 30% เป็นรายได้จากธุรกิจระบบราง, และ 5% เป็นรายได้จากธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์

  • ทางพิเศษศรีรัช (ทางด่วนขั้นที่ 2) ส่วน A, B, C, D
  • ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร (SOE)
  • ทางพิเศษอุดรรัถยา (ทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด) (C+) ซึ่งดำเนินการผ่านบริษัทย่อย คือ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด (NECL) ซึ่งบริษัทถือหุ้นอยู่ 99.99%

ปริมาณจราจรเฉลี่ยสำหรับปี 2560 เท่ากับ 1.2 ล้านเที่ยวต่อวัน และเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็น 2.93%

  • โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายเฉลิมรัชมงคล (สายสีนํ้าเงิน) ช่วงหัวลำโพง-บางซื่อ (สถานีหัวลำโพง-สถานีบางซื่อ)
  • โครงการรถไฟฟ้ามหานครสายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ (สถานีคลองบางไผ่-สถานีเตาปูน)

ปริมาณผู้โดยสารเฉลี่ยสำหรับปี 2560 เท่ากับ 300,000 เที่ยวต่อวัน หรือคิดเป็นเฉลี่ยต่อวันทำการ เท่ากับ 342,000 เที่ยวต่อวัน โดยเติบโตเพิ่มขึ้นจากปีก่อนคิดเป็น 7.9%

ทำให้ผู้โดยสารเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีม่วงได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น ด้วยระบบการเดินทางที่มีชานชาลาที่เชื่อมต่อ ณ สถานีเดียวกัน ทั้งนี้สถานีเชื่อมต่อเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2560 ส่งผลให้มีปริมาณผู้โดยสารเติบโตทั้งสายสีม่วงเองและเข้าสู่สายสีน้ำเงินอย่างต่อเนื่อง